Year: 2022

วิตามินเค

วิตามินเค เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดี ตามปกติมีโอกาสน้อยมากที่จะพบผู้ป่วยที่ขาดวิตามินเคโดยตรง ส่วนมากจะพบกับผู้ที่มีโรคประจำตัวมาก่อน เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบดูดซึมสารอาหาร โรคแพ้กลูเตน การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักหรือการรับประทานยาเพื่อรักษาอาการอื่น ๆ จนเป็นเหตุให้การดูดซึมวิตามินเคเข้าร่างกายได้น้อยลง วิตามินเคนั้นเมื่อแบ่งตามการทำงานจะมีเพียงแค่รูปแบบเดียวเท่านั้นคือเมนาควิโนนหรือวิตามินเค 1 และอีก 2 รูปแบบนั้นเป็นวิตามิน K2 และ K3 ซึ่งเกิดจากการสังเคราะห์ภายในร่างกายโดยตับและยังถูกสร้างจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกายได้อีกด้วย แต่ท้ายที่สุดแล้วทั้งวิตามิน เค2 เค3 ก็จะถูกนำมาใช้งานในลักษณะเดียวกับ เค1 อยู่ดี ในคนปกติร่างกายต้องการวิตามินเคที่ 100 ไมโครกรัมต่อวันซึ่งถือว่าน้อยมากสำหรับการรับประทานอาหารแบบปกติถือว่ามากเกินพอ วิตามินเคนั้นพบได้มากในอาหารประเภทเนื้อสัตว์และเมล็ดพืชที่มีน้ำมันเช่นถั่วเหลือง เมล็ดกาแฟ ถ้าหากขาดวิตามินเคนั้นจะมีอาการเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งอาการนี้อาจจะถูกพบไปทารกวัยแรกเกิดเนื่องจากการสังเคราะห์สารอาหารจากไขมันที่มีสะสมตามร่างกายและอวัยวะภายในยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ จึงสังเคราะห์วิตามินเคได้น้อยสำหรับทารกแล้วถ้าแพทย์พบมักจะแก้ไขด้วยการฉีดวิตามินเคเพียง 1 เข็มจำนวน 10 mg ให้ได้รับโดยตรง แต่ในผู้ที่มีลักษณะของการขาดวิตามินเคเรื้อรังจะต้องได้รับวิตามินเคเสริมเข้าไปจำนวน 1-2 mg ต่อสัปดาห์ วิตามินเคจัดเป็นสารเคมีที่จัดอยู่ในหมวดสารอันตราย ไม่ควรจะซื้อมารับประทานเองอย่างเด็ดขาดต้องรับประทานภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

เกลือแร่ที่สำคัญมีอะไรบ้าง 2

ธาตุเหล็ก เป็นองค์ประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง สามารถพบได้ในเนื้อสัตว์ และพบมากใน ตับ เมื่อขาดธาตุเหล็กแล้วร่างกายจะไม่สามารถผลิตเม็ดเลือดขึ้นมาใหม่ได้ เพราะปกติแล้วเลือดในร่างกายมนุษย์จะถูกสร้างขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา และเซลล์เม็ดเลือดในแต่ละเซลล์จะมีอายุประมาณ 3 ถึง 6 เดือนเท่านั้น ปัญหาการขาดธาตุเหล็กนั้นพบได้มากในแถบประเทศทุรกันดารซึ่งประชาชนมีสภาพกินอยู่กันอย่างอดอยาก สังกะสี เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการเพียงแค่น้อยนิดแต่ก็มีความจำเป็นมาก จะต้องรับประธานอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุสังกะสีอยู่เป็นประจำ ซึ่งพบได้ในเนื้อสัตว์ปีก เนื้อปลา เนื้อแดง การขาดสังกะสีจะทำให้เด็กทั้งหญิง ชาย มีการเจริญเติบโตทางเพศที่ผิดปกติ ภาวะเบื่ออาหาร ท้องร่วงฉับพลัน และบาดแผลหายช้า แมกนีเซียม พบได้มากในอาหารประเภทผักใบเขียว ถั่ว นม มีส่วนสำคัญในการสร้างเลือดและกระดูกให้มีความแข็งแรงมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อสามารถสื่อสารเพื่อให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ _x0

เกลือแร่ที่สำคัญมีอะไรบ้าง 1

เกลือแร่ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามความต้องการของร่างกาย คือเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการเป็นจำนวนมากเพื่อนำไปเสริมสร้างเนื้อเยื่อและอวัยวะ เช่น แคลเซียมที่เป็นส่วนประกอบหลักของกระดูกและกล้ามเนื้อ ส่วนอีกชนิดคือ คือเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เมื่อขาดเกลือแร่เหล่านี้ร่างกายก็ทำงานไม่ได้ ซึ่งประกอบด้วย สังกะสี ไอโอดีน โพแทสเซียม เหล็กทองแดง แมกนีเซียม ฟลูออไรด์ โซเดียม และอื่น ๆ อีกหลายชนิด แคลเซียมพบ ได้มากในอาหารประเภทเนื้อ นม ไข่ จัดเป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างหลัก ของร่างกายแต่การจะรับประทานแคลเซียมให้ได้ผลก็ต้องมีวิตามินดีที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีอีกด้วย หากร่างกายขาดแคลเซียมในวัยเด็ก การเจริญเติบโตจะหยุดชะงักแถมยังมีโอกาสเป็นโรคกระดูกในยามชรามากขึ้น โซเดียม พบได้ในอาหารประเภทเกลือเป็นหลัก มีความสำคัญมากในกระบวนการทำงานของร่างกาย ปกติแล้วร่างกายมีความต้องการโซเดียมอยู่ที่ 2400 mg ต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ การรับโซเดียมที่มากเกินไปจะส่งผลต่อการทำงานของไตที่มากขึ้น จนมีโอกาสเกิดโรคทางไต หลายคนมักจะเข้าใจผิดว่าโซเดียมจะต้องเป็นสารที่ให้ความเค็มเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงโซเดียม ยังถูกแยกออกมาอีกหลายชนิด _x0

Back To Top